NOSTRA x GIS จับมือร่วมเสวนา Survey engineering towards a more sustainable future โชว์เทคโนโลยีสำหรับการสำรวจแห่งอนาคต

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่และ โลเคชันคอนเทนต์ภายใต้แบรนด์ NOSTRA และบริษัท จีไอเอส จำกัด  ได้เข้าร่วมงานเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจทางด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิในสายวิศวกรรมสำรวจ ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2566 ณ  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้ รศ.ดร. เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสวนาในหัวข้อ GNSS CORS as National Positioning and Timing Infrastructure กล่าวถึง การใช้ Spatial Data Infrastructure เป็นโครงสร้างในการบริหารจัดการข้อมูลระบบอ้างอิงพื้นหลักฐานและระบบพิกัด ภาครัฐมีความร่วมมือให้หน่วยงานทางด้านวิศวกรรมร่วมกันแชร์ข้อมูลผ่าน NCDC (National CORS Data Center ) หรือศูนย์อ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูงที่มีเอกภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน […]

โกลบเทค มองอนาคต ใช้เทคโนโลยีอวกาศ สำหรับวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยด้วย InSAR GroundMoition & IoT InfraMotion

โกลบเทค นำเทรนด์ประยุกต์เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจโลกความละเอียดสูง สร้าง New Space Economy เปิดมิติใหม่ของการสำรวจ วิจัย รวมถึงการจัดการความเสี่ยงภัยจากการเคลื่อนตัวของพื้นดินและโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ด้วยความละเอียดระดับมิลลิเมตร ส่งผลให้สามารถประเมินการใช้งานพื้นที่อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด ดร. ไพศาล สันติธรรมนนท์ รองประธานบริหาร บริษัท โกลบเทค จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และโลเคชันคอนเทนต์ภายใต้แบรนด์ นอสตร้า (NOSTRA) กล่าวในงานอบรม วิทยาการเกษตรระดับสูง รุ่นที่ 4 ว่า ในปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีทางอวกาศ มาประยุกต์ใช้กับงานในด้านการผลิตข้อมูล ซึ่งปัจจุบันสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ และกำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการสร้าง New Space Economy ถือว่าเป็นเศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถประยุกต์ใช้งานในเรื่องของ การสำรวจ การวิจัย การจัดการ รวมถึงการใช้พื้นที่บนอวกาศ และประเทศไทยก็พึ่งจะมีการปล่อยดาวเทียม THEOS-2 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งดาวเทียม THEOS-2 เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จัดอยู่ในกลุ่มดาวเทียมสำรวจโลกที่มีความละเอียดสูง จะโคจรผ่านประเทศไทยถึง […]

Ground Motion คืออะไร กับเหตุผลที่นักวิเคราะห์ต้องให้ความสนใจมากขึ้น

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา New Space Economy ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากอวกาศได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลจากดาวเทียมเรดาร์หรือ SAR ที่สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน และสิ่งปลูกสร้างได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความละเอียดถูกต้องสูงด้วยการใช้เทคนิคการประมวลผล “SAR Interferometry” Interferometric SAR (InSAR) เป็นการประมวลผลแบบซับซ้อนเพื่อเปรียบเทียบคลื่นที่สะท้อนบนพื้นผิวโลก หรือสิ่งปลูกสร้าง เมื่อดาวเทียมโคจรผ่านหลายครั้ง ซึ่งมีวงโคจรที่เกือบจะซ้อนทับกัน ผลการเปรียบเทียบสัญญาณทำให้ได้อัตราการเคลื่อนตัวแผ่นดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีความละเอียด ถูกต้อง มีหน่วยเป็น “มิลลิเมตรต่อปี” และ InSAR จะแสดงผลจุดตรวจสอบจำนวนมากในพื้นที่เฝ้าระวังทุกๆ ระยะ 10 เมตร หรือมากกว่าได้ Ground Motion               คือ เทคโนโลยีสำหรับตรวจสอบการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน และสิ่งปลูกสร้างด้วยเทคนิคการประมวลผล “SAR Interferometry” ที่จะใช้ข้อมูลจากดาวเทียมวัดการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโครงสร้างในช่วงเวลาต่างๆ และนำมาแสดงผลเป็นเส้นกราฟแสดงอัตราการเคลื่อนตัวของแผ่นดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร เพื่อตรวจสอบการยุบตัวของพื้นดิน หรือโอกาสทรุดตัวในระยะ 100 เมตร ซึ่งจะนำไปสู่มาตรการทางวิศวกรรมเพื่อความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวัด Ground Motion […]