NOSTRA ปักหมุดแผนที่ตามรอยโครงการหลวงและโครงการในพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ ๙
9 โครงการในหลวงรัชกาลที่ 9
บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการ แผนที่ประเทศไทย NOSTRA Map จัดทำข้อมูลพิเศษ ๙ ตามรอยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผ่านแอพพลิเคชันแผนที่นำทาง NOSTRA Map เพื่อรำลึกถึงพระราชกรณียกิจอันสร้างประโยชน์นานัปการแก่ประชาชนชาวไทย
9 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่
- สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
นับเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของเมืองไทย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเดินทางมาพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ แต่เดิมเป็นป่าเขา ชาวบ้านทำไร่เลื่อยลอย ปลูกฝิ่น ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2512 สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวไทยภูเขาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามพระราชดำริ “ให้ช่วยเขา ช่วยตัวเอง” - สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ในปี พ.ศ. 2522 “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์” ได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่ในพื้นที่ ให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่งเพิ่มรายได้ เลิกการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกป่าอันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่ บ้านวัดจันทร์ และ หมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ทรงพบว่าราษฎรมีความแร้นแค้น ไม่มีเส้นทางคมนาคม ทรงรับทราบถึงความลำบากความทุกข์ยากของชาวเขาในพื้นที่ ทั้งมีการถางป่าทำไร่เลื่อนลอย ทำนาในพื้นที่ลุ่มระหว่างหุบเขา จึงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาบ้านวัดจันทร์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร รวมถึงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฏรในพื้นที่ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา โดยการนำผลวิจัยทางการเกษตรไปถ่ายทอดและส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้แบบยั่งยืน โดยทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ศูนย์นี้ก่อตั้งตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาอันเกิดจากการขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีพที่ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชเสพติด โดยการนำความรู้ทางด้านเกษตรที่เหมาะสมมาพัฒนาเพื่อให้ราษฏรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2526 เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฏรโดยการนำพืชผลที่ผ่านการวิจัยมาช่วยเพิ่มผลผลิต ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ เพื่อให้ราษฏรเลิกการปลูกฝิ่นและหยุดทำไร่เลื่อนลอย และปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษป่า อันเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำที่สำคัญซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงชาวบ้านบริเวณนี้ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 ชาวเขาเผ่าม้งจากจอมทองได้ยื่นฏีกาถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อขอพระราชทานที่ดินทำกิน ทรงมีรับสั่งให้หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนีเข้าไปช่วยเหลือและพิจารณาพื้นที่บ้านห้วยลึกให้แก่ราษฏร จากนั้นจึงได้ก่อตั้งศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ให้ยั่งยืน - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
จากหมู่บ้านเล็กๆ ที่ห่างไกลความเจริญ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมรายได้น้อยความเป็นอยู่ยากลำบาก แต่สายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ยังทรงมองไปถึง ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 300,000 บาท ในปี 2524 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์ในการเริ่มต้นก่อตั้งศูนย์ฯ ในการวิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดและกาแฟพันธุ์อราบิก้าให้แก่ราษฏรในพื้นที่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้านหนองหอย ราษฏรเป็นชาวเขาเผ่าม้งมีอาชีพปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย เพื่อช่วยเหลือราษฏรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นพร้อมทั้งให้หยุดการปลูกฝิ่นและบุกรุกแผ้วถางป่าจึงทรงมีพระราชดำริก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
แอพพลิเคชันแผนที่ไทย NOSTRA Map เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เพียงเปิดแอพฯ แล้วเลือก Map Layer “๙ ตามรอยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หรือ “๙ Royal Projects” ก็จะสามารถเข้าถึงทั้ง 9 ตำแหน่งได้ทันที ดาวน์โหลดแผนที่และใช้งานฟรีได้ที่ http://map.nostramap.com/download