12 จุดรับรีไซเคิลขยะพลาสติก พลิกวิกฤติขยะล้นเมือง
NOSTRA map แอปพลิเคชันแผนที่นำทางประเทศไทย จัดทำแผนที่รวบรวม 12 จุดรับรีไซเคิลขยะพลาสติกทั่วกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงจุดรับบริจาคเพื่อนำพลาสติกไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคลิกเพื่อดูจุดรับรีไซเคิลขยะพลาสติก พิกัดบนแผนที่พร้อมนำทางได้ที่ : http://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/recycle2019,feed/th
วิธีการใช้งานง่ายๆ สำหรับใครที่ยังไม่มีแอปพลิเคชัน NOSTRA map สามารถดาวน์โหลดฟรี NOSTRA map Application ได้ที่ https://map.nostramap.com/mobile
กดเข้าไปที่ “ชั้นข้อมูล” กดเลือกชั้นข้อมูลที่ท่านสนใจ “12 POIs of waste plastic recycling” จากนั้นสามารถดูพิกัดบนแผนที่และนำทางไปยังจุดหมายปลายทาง อีกทั้งยังมีข้อมูลสถานที่ ข้อมูลการรับบริจาคในแต่ละจุดอย่างละเอียดอีกด้วย
- โครงการ “วน” บริษัท ทีบีพีไอ จำกัด
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/37l4U2k
ถุงพลาสติกที่รับกลับมารีไซเคิล คือ ถุงหูหิ้ว ถุงพลาสติก หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นฟิล์มพลาสติกหุ้มบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยวิธีการเชคพลาสติกคือ เมื่อเอานิ้วจิ้มพลาสติกแล้วพลาสติกจะยืดออก เช่น ถุงขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ พลาสติกที่ห่อนมกล่องเป็นแพค 6 กล่อง ถุงน้ำตาลมิตรผลเป็นต้น โดยนำมาทำให้สะอาดและแห้งก่อนบริจาค เพื่อนำมาทำเป็นถุงพลาสติกใหม่ ที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบ ลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะออกสู่สิ่งเเวดล้อม
2. วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2Kz01sG
วัดทองนพคุณในจังหวัดเพชรบุรี นำขวดน้ำพลาสติกเก่าทิ้งแล้ว มาสร้างแพและสะพานกลางน้ำ โดยพระครูโกศลวัชรธรรม เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ เล่าให้ฟังว่า ขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้ มีจุดเด่นคือ น้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้ดี จึงเกิดไอเดียที่จะนำมารีไซเคิล และประดิษฐ์เป็นสะพานจากขวดน้ำพลาสติก และค่อย ๆ พัฒนาทำเป็นโครงสร้างอุโมงค์ปลาจากขวดพลาสติกแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จนที่นี่กลายเป็นจุดเช็กอินของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไหว้พระ และเที่ยวชมตลาดชุมชนภายในวัด ขณะที่ชาวบ้านในชุมชนเองก็ได้รับประโยชน์ เพราะวัดกลายเป็นลานกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศเข้ามา ช่วยสร้างรายได้ให้คนในชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวบ้านร่วมใจกันสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ จากขวดน้ำเก่า
3. วัดจากแดง สมุทรปราการ
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2rZ9GCH
พระมหาประนอม ธัมมาลังกาโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ ผู้ริเริ่มและคิดค้นการนำขวดพลาสติกมาทำจีวรพระ เริ่มจากที่ท่านรักความสะอาดตั้งแต่เด็ก เมื่อเห็นขยะเพิ่มมากขึ้น จึงอยากจะช่วยลดภาระของโลก ได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ลองผิดลองถูกมา 3 ปี จนได้วิธีการในการทำพลาสติกมาดัดแปลงเป็นจีวรพระ ซึ่งย่อมต้องไม่ใช่จีวรธรรมดาทั่วไป จีวรที่พระในวัดแห่งนี้ใส่เป็นจีวรนาโน และใส่ผ้าฝ้ายผสมเข้าไป ทำให้ไม่ร้อน ไม่แข็ง แห้งเร็ว และไม่มีกลิ่นเหงื่อติด เป็นจีวรที่เป็นผ้าที่มีคุณภาพสูงเกรดคล้ายเกรดพรีเมี่ยมเลยทีเดียว
4. โครงการหลังคาเขียว / บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/341PTk1
Greenroof หรือ หลังคาเขียว คือโครงการที่สนับสนุนการคัดแยกจัดเก็บขยะรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วอย่างยั่งยืน โดยการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มที่บริโภคแล้วไปรีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคา เพื่อมอบให้กับ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ให้นำไปใช้ประโยชน์ และมอบให้กับชุมชนที่ขาดแคลนต่อไป ซึ่งประโยชน์ของ กล่องเครื่องดื่ม ยูเอชที นอกจากจะสามารถปกป้องอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ภายในเพื่อคงคุณค่าของสารอาหารจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค และเมื่อบริโภคหมดแล้วยังสามารถนำมาสร้างแผ่นหลังคาได้อีกด้วย โดยหลังคาขนาด 1 x 2.40 เมตรจะใช้กล่องเครื่องดื่มประมาณ 2,000 กล่องในการผลิต และจะได้หลังคาที่มีคุณสมบัติ ทนทานไม่แตกง่าย ทนไฟ ไม่ต้องใช้โครงสร้างหนัก ไม่ดูดซับแดดและความร้อน ประหยัดพลังงาน ปลอดจากเชื้อรา และสามารถซ่อมแซมได้ง่าย
5.Precious Plastic Bangkok ที่ FREC Bangkok
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2CZzn88
Precious Plastic Bangkok โครงการรีไซเคิลพลาสติกที่มีต้นกำเนิดจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และขณะนี้ก็กำลังแลนดิ้งอยู่ที่ไทยแลนด์แดนขยะ ซึ่งโปรเจกต์นี้เปลี่ยนชีวิตของขยะพลาสติกเมืองไทยให้มาเป็นโปรดักต์สุดเก๋เท่ไม่ซ้ำแบบ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของคนไทย จากขยะไม่มีค่าให้มีราคาด้วยการรีไซเคิล โดยทาง Precious Plastic Bangkok จะส่งต่อองค์ความรู้ วิธีการ กระบวนการต่างๆ ไปยังชุมชน ประชาชน หน่วยที่เล็กที่สุดของประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
6. บมจ. ไทยคม
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2XBjej7
บมจ.ไทยคม ร่วมรณรงค์รับบริจาคหลอดพลาสติก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ลดขยะจากการใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับหลอดที่ใช้แล้วให้ล้างหลอดให้สะอาดและแห้ง เพื่อนำไปทำหมอนเพื่อผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน และรับบริจาค หลอดพลาสติกที่ยังไม่ได้ใช้ไม่ต้องฉีกที่ห่อหุ้มออก เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงไว้ดื่มน้ำ
7. ปตท.สนง.ใหญ่ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2NYUwWm
“มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน” ที่ก่อตั้งขึ้นโดย ปตท. ได้ตระหนักถึงปัญหาของขยะพลาสติกที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ทำงานร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาประสิทธิภาพของหมอนไส้หลอดในการป้องกันแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียงและหาแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนาหลอดพลาสติกที่ใช้กันเป็นประจำสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (RE-USED) ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
การวิจัยในเบื้องต้นพบว่าหมอนไส้หลอดสามารถยืดเวลาบรรเทาการเกิดแผลกดทับจาก 2 ชั่วโมง ออกไปเป็น 2 ชั่วโมงครึ่ง เนื่องจากมีการกระจายน้ำหนักที่ดี ขนาดหมอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยคือ 37 x 58 เซนติเมตร ปริมาณหลอดที่ความหนาแน่น 90% เฉลี่ย 948 กรัม หรือ 14.5 ถ้วยตวง ซึ่งทางมูลนิธิได้เริ่มส่งมอบหมอนให้แก่บ้านคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จ.ปทุมธานี และโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี ไปเรียบร้อย ดังนั้นมูลนิธิ จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกันทำความดีด้วยการนำหลอดที่ใช้แล้วมาบริจาคเพื่อต่อยอดสู่การรณรงค์การลดขยะในอนาคต
8. โครงการกรีนโรด (ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ)
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2NZaYpB
โครงการ Green Road เชิญชวนบริจาคถุงพลาสติกใช้แล้ว เพื่อนำไปทำบล็อกปูถนนรีไซเคิล โดยการวิจัยและพัฒนาถนนรีไซเคิลจากขยะถุงพลาสติก ของ ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ (ดร.เป้า) นับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะขยายผลในการลดปริมาณขยะพลาสติก ซึ่งย่อยสลายยาก หรือขยะพลาสติกที่จะไหลลงสู่ทะเลโดยใช้ถุงพลาสติก 4,000 ใบในการทำอิฐบล็อกปูถนนรีไซเคิล 1 ตร.ม.
9. กรมควบคุมมลพิษ
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2Qld3Os
กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับ มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดำเนินโครงการบริจาคอะลูมิเนียมเพื่อจัดทำขาเทียมพระราชทาน ด้วยการรับบริจาคอะลูมิเนียม ได้แก่ ห่วงดึงจากฝาน้ำดื่ม ห่วงดึงจากกระป๋อง ฝาเกลียว กระป๋องเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ด้านในของตลับแป้ง ไม้ค้ำยัน (อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว) ชิ้นส่วนหรืออะไหล่เก่าจากรถยนต์ อะลูมิเนียมเก่าที่หมดสภาพ เช่น ตะแกรงช่องแอร์ ขอบหน้าต่าง ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่มีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ สำหรับนำมาใช้เป็นต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์ขาเทียม ได้แก่ เบ้า แกน หน้าแข้ง เท้าเทียม และไม้เท้า เพื่อช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน อะลูมิเนียมที่มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้รับการบริจาคนั้นก็ไม่ได้นำมาทำเป็นอุปกรณ์ขาเทียมเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากอะลูมิเนียมที่ได้จากการบริจาคจะเป็นอะลูมิเนียมที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมตามมาตรฐานของขาเทียมของผู้พิการ ISO 10328 ซึ่งหากนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการทำขาเทียมโดยตรงอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งานได้ ด้วยเหตุนี จึงต้องเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการทำขาเทียม เพื่อให้ได้มาตรฐาน ISO 10328 โดยจะใช้วัสดุ 2 อย่าง คือ อะลูมิเนียมเกรดสูงและเหล็กกล้าไร้สนิม (สเตนเลสสตีล) ซึ่งจะมีความยืดหยุ่น เหนียว และแข็งแรงคงทนมากกว่าอะลูมิเนียมธรรมดา จึงต้องนำอะลูมิเนียมที่ ได้รับบริจาคส่งจำหน่ายให้กับบริษัทอะลูมิเนียมหรือร้านรับซื้อของเก่า เพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อนำ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยมีบางส่วนที่สามารถรีไซเคิลนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอุปกรณ์ขาเทียมได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า อะลูมิเนียมที่ทุกท่านร่วมกันบริจาคนั นมีประโยชน์ บางส่วนก็ย้อนกลับมาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำอุปกรณ์ขาเทียม และรายได้จากการจ าหน่ายอะลูมิเนียมนอกจากจะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ขาเทียมให้แก่ผู้พิการ ยังเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของที่พัก และค่าอาหารของผู้พิการที่มาขอรับบริการ ณ มูลนิธิขาเทียมฯ อีกด้วย
10.Trash Hero Thailand : Ecobricks
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/34zvT87
ECO BRICKS คือ การนำเศษขยะชิ้นเล็กๆที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม กระดาษ เชือก มาอัดให้แน่นในขวดพลาสติก โดยต้องเป็นชิ้นส่วนไม่เปียก ไม่เน่า จากนั้นนำขวดเหล่านี้ไปก่อเป็นโครงสร้างผนังแทนอิฐ และประสานแต่ละขวดเข้าด้วยกันด้วยการก่อปูนโดยที่ Bamboo School จะเป็นการสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจะเป็นสิ่งก่อสร้างจากขวดพลาสติกอัดขยะครั้งแรกในประเทศไทย
11. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/2XyeKd3
Greenroof หรือ หลังคาเขียว คือโครงการที่สนับสนุนการคัดแยกจัดเก็บขยะรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วอย่างยั่งยืน โดยการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มที่บริโภคแล้วไปรีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคา เพื่อมอบให้กับ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ให้นำไปใช้ประโยชน์ และมอบให้กับชุมชนที่ขาดแคลนต่อไป ซึ่งประโยชน์ของ กล่องเครื่องดื่ม ยูเอชที นอกจากจะสามารถปกป้องอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ภายในเพื่อคงคุณค่าของสารอาหารจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค และเมื่อบริโภคหมดแล้วยังสามารถนำมาสร้างแผ่นหลังคาได้อีกด้วย โดยหลังคาขนาด 1 x 2.40 เมตรจะใช้กล่องเครื่องดื่มประมาณ 2,000 กล่องในการผลิต และจะได้หลังคาที่มีคุณสมบัติ ทนทานไม่แตกง่าย ทนไฟ ไม่ต้องใช้โครงสร้างหนัก ไม่ดูดซับแดดและความร้อน ประหยัดพลังงาน ปลอดจากเชื้อรา และสามารถซ่อมแซมได้ง่าย
12. ผึ้งน้อยนักสู้ Ecobricks
พิกัดบนแผนที่คลิก : http://bit.ly/33Yi2bG
ทีมงานผึ้งน้อยนักสู้สู่สำนึกแห่งความเป็นพลเมือง ทีมงานที่ทุ่มเทเพื่อสังคมเพราะผ่านการละเล่นเเละการปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพราะโลกนี้มีปัญหามากมายที่ส่งผลกระทบกับชีวิตของเด็กเด็ก ผึ้งน้อยจึงทำสื่อเพื่อกระตุ้นให้เด็กลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ปัญหา ECO BRICKS คือการนำเศษขยะชิ้นเล็กๆที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม กระดาษ เชือก มาอัดให้แน่นในขวดพลาสติก โดยต้องเป็นชิ้นส่วนไม่เปียก ไม่เน่า จากนั้นนำขวดเหล่านี้ไปก่อเป็นโครงสร้างผนังแทนอิฐ และประสานแต่ละขวดเข้าด้วยกันด้วยการก่อปูน