เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่และ โลเคชันคอนเทนต์ภายใต้แบรนด์ NOSTRA และบริษัท จีไอเอส จำกัด ได้เข้าร่วมงานเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจทางด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิในสายวิศวกรรมสำรวจ ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
รศ.ดร. เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสวนาในหัวข้อ GNSS CORS as National Positioning and Timing Infrastructure กล่าวถึง การใช้ Spatial Data Infrastructure เป็นโครงสร้างในการบริหารจัดการข้อมูลระบบอ้างอิงพื้นหลักฐานและระบบพิกัด ภาครัฐมีความร่วมมือให้หน่วยงานทางด้านวิศวกรรมร่วมกันแชร์ข้อมูลผ่าน NCDC (National CORS Data Center ) หรือศูนย์อ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูงที่มีเอกภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
คุณจนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล
Senior Vice President – Aerospace Mapping, GIS Co.Ltd.
เสวนาในหัวข้อ Sustainable Safety of Urban and Infrastructure Using Time-Series InSAR with Millimetric Accuracy หรือ การประยุกต์ใช้อินซาร์ชนิดอนุกรมเวลาสำหรับความปลอดภัยยั่งยืนของเมือง และสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ด้วยความแม่นยำระดับมิลลิเมตร โดยใช้เทคโนโลยี Ground Motion เข้ามาช่วยในเรื่องความปลอดภัยของการเคลื่อนตัวของพื้นผิวดินและส่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่
Ground Motion จากอินซาร์ (InSAR) – เทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียมความละเอียดสูง สามารถเก็บข้อมูลในพื้นที่บริเวณกว้าง หรือครอบคลุมทั้งประเทศไทย และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ตรวจสอบและแสดงผลการเปลี่ยนแปลงของพื้นดิน และโครงสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถเลือกได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด หรือย้อนหลังสูงสุดถึง 8 ปี และเฝ้าติดตามการเคลื่อนตัวในทุกๆ 12 วัน ซึ่งข้อมูลแสดงผลผ่านทางระบบ Ground Motion Service ผ่านระบบออนไลน์
รศ.ดร. ไพศาล สันติธรรมานนท์
Senior Executive Vice President, Globtech Co.,Ltd
เสวนาในหัวข้อ Results from Airborne Inspection for Building Inspection and legislation หรือ ผลการใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากกล้องเฉียงเพื่อการตรวจสอบ และควบคุมอาคาร โดยกล่าวถึง กฏกระทรวง พ.ศ. 2548 และ เจ้าของอาคารขนาดใหญ่จะต้องยื่นผลการตรวจสอบต่อเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น การเสวนายังรวมถึงการใช้กล้องเฉียงสี่ทิศทางพร้อมกล้องดิ่งติดกับเครื่องบินหรืออากาศยานไร้คนขับสำหรับการประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบอาคาร เป็นข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากภาพถ่ายทางอากาศ โดยเน้นพื้นที่ในเมือง มีความหนาแน่นของอาคาร หรือในตรอก ซอย เป็นต้น ผลผลิตเทคโนโลยีการสำรวจสามารถแบ่งได้ดังนี้
- การสร้างแบบจำลองความสูง
- Digital Surface Model (DSM) การสร้างแบบจำลองความสูงจากการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศ เช่นพื้นดิน สิ่งปลูกสร้าง ระดับความสูง ของอาคารหรือต้นไม้
- Digital Terrain Model (DTM) การสร้างแบบจำลอง โดยการเลือกพื้นที่แบบเปิดโล่ง
- True Ortho Map ข้อมูลแผนที่ความละเอียดสูง ที่ตึกอาคารสิ่งปลูกสร้างแสดงปรากฏเป็นภาพในแนวดิ่งไม่มีการบดบังตรอกซอกซอย
- 3D City Model via Point-Cloud เทคโนโลยีการสำรวจและแสดงผลพื้นที่และส่งปลูกสร้างแบบ 3 มิติ
- 3D City Model via Mesh การสร้างการสำรวจพื้นที่ ที่มีโครงสร้างที่ละเอียดเห็นภาพด้านข้างอาคาร
- Ob-View (Oblique Viewer with Easy Measurement ) เป็นการแสดงภาพเฉียงความชัดเจนสูงมาก และยังสามารถรังวัดความยาวความสูงได้โดยง่าย
- 3D PreciView (MultiView Measurement) การรรังวัดโดยตรงไปบนภาพถ่ายทางอากาศหลายมุมพร้อมกัน ทำให้ได้ค่าพิกัดรังวัดในสามมิติ ความละเอียดถูกต้องระดับเดซิเมตร
การเสวนายังกล่างถึงการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากล้องถ่ายภาพทางอากาศสำหรับภาระกิจ Smart city เช่น
- การรังวัดเพื่อการจัดเก็บภาษีป้าย
- การตรวจสอบติดตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- การควบคุม การกำกับ การส่งเสริม การใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์
- การผลิตข้อมูลเมืองและคมนาคมอย่างละเอียด
รศ.ดร. ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เสวนาในหัวข้อ The Future of Surveying Engineering : Integration of Digital Twin, GIS and BIM อธิบายรายละเอียดถึง
- Digital Twin (แบบจำลองดิจิทัล): เป็นเทคโนโลยีการสร้างรูปแบบจำลองเทียบเท่าของจริง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งของในสภาพแวดล้อมจริง สามารถใช้ในการตรวจสอบและการวิเคราะห์การก่อสร้าง เพื่อการบริหารจัดการรักษาสิ่งของในระยะยาว
- GIS (Geographic Information Systems): เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บ การจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแผนที่และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำให้สามารถติดตาม จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และตำแหน่งได้อย่างละเอียดและแม่นยำ
- BIM (Building Information Modeling): เป็นกระบวนการสร้างแบบจำลองแบบระดับสูงของโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง การบริหารจัดการ และกฏหมาย ซึ่งช่วยในการวางแผน ออกแบบ และการจัดการโครงการสร้างในระยะยาว
เทคโนโลยีข้อมูลจะช่วยให้วิศวกรรมสำรวจสามารถมองเห็นภาพรวมของโครงการ และพื้นที่ในมุมมองที่ครอบคลุมมากขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูล และแก้ไขปัญหาในขณะที่โครงการกำลังดำเนินการ และช่วยในการวางแผน และการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและความแม่นยำมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ซึ่งการใช้เทคโนโลยีการสำรวจ Ground Motion อาจจะเป็นมิติใหม่ของแนวทางการสำรวจ ที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการวางแผนการจัดการความเสี่ยงจากการยุบตัวของอาคารสิ่งปลูกสร้าง และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของแผ่นดินจะเกิดการวางแผนการใช้งานพื้นที่อย่างเป็นระบบ รวมถึงมาตรการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ในระยะยาวอีกด้วย
หน่วยงานหรือองค์กรที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม Website : www.nostramap.com/2023/10/16/what-is-ground-motion/
สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมที่ Marketing.nostra@cdg.co.th โทรศัพท์ 02-678-0995