หนึ่งในกิจกรรมหลักทางธุรกิจที่ทุก ๆ บริษัทจะต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ กิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่มีตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบในการผลิต การเสนอขายสินค้าและบริการ การส่งมอบสินค้าและบริการถึงมือลูกค้าทั้งแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ และธุรกิจถึงผู้บริโภคปลายทาง ตลอดจนถึงการดูแลบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่ให้บริการจัดส่งสินค้าหรือจัดส่งอาหาร บริษัทที่ต้องกระจายสินค้าสู่ร้านค้าปลีกทั่วประเทศ บริษัทที่ให้บริการซ่อมแซมบำรุงเฉพาะทางที่ต้องไปยังพื้นที่ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบริษัทที่ต้องใช้นักขายแบบเชิงรุกตรงไปในพื้นที่โดยตรง ทั้งหมดล้วนถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย “การเดินทาง” ที่จะต้องให้บริการด้วยการแวะรับส่งสินค้าหรือแวะให้บริการลูกค้าหลายจุดหลายพื้นที่ในหนึ่งวัน
จากแนวโน้มข้อมูลการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจ E-Commerce ที่โตขึ้นมากกว่าเดิมถึงสามเท่า เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2019 ในธุรกิจรับส่งพัสดุด่วน และธุรกิจขนส่งอาหาร ถือเป็นโอกาสทองในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ที่อาศัยการค้าขายทางช่องทางออนไลน์ และส่งพัสดุไปยังลูกค้า หรือแม้กระทั่งในส่วนของภาคผลิตเอง ที่ต้องเพิ่มจำนวนการรับส่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตทางรถขนส่งไปยังโรงงาน ซึ่งปริมาณการขนส่งหรือการเดินทางที่มากขึ้นนี้เอง ทำให้ระบบการจัดการหลังบ้านเกิดปัญหาใหญ่ ๆ ในการจัดการกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การจัดการเส้นทางการเดินรถส่งของ หรือการจัดลำดับการให้บริการ” ท่ามกลางตัวแปรทรัพยากรจำนวนบุคลากร จำนวนรถขนส่ง และเวลาการทำงานใน 1 วัน ที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นเดิม จะมีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง ที่เป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนจัดลำดับการขนส่ง หรือการจัดลำดับการให้บริการ เรามาดูกันเลยครับ
- TIME WINDOWS
- DISTRIBUTORS & SUPPLIERS
- LOAD CONSTRAINTS
- RESOURCE
- TIME CONSUMPTION
- JOB ZONE
- HUMAN ERRORS
1. TIME WINDOWS
เงื่อนไขในการจัดการเวลา ในการเข้ารับส่งสินค้าหรือการให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นปัญหาที่หลาย ๆ ธุรกิจต้องบริหารกับความผันผวนในเรื่องของเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด และแตกต่างกันในแต่ละจุด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากหากมีจุดรับส่งสินค้าหลายที่ ยิ่งทำให้มีการจัดลำดับเวลาที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ได้ผลลัพธ์การจัดลำดับเส้นทางที่ไม่เหมาะสมทั้งในด้านของต้นทุน หรือ เวลา รวมถึงการขาดโอกาสในการส่งมอบสินค้าและบริการได้ตรงต่อเวลา ในปริมาณที่ถูกวางแผนไว้ต่อหนึ่งวันได้
2. DISTRIBUTORS & SUPPLIERS
การรับคำสั่งซื้อสินค้าและบริการในจำนวนที่มากขึ้นกว่าเดิมปกติ มาพร้อมกับจำนวนจุดรับและส่งสินค้า หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์ให้บริการรายภูมิภาค โรงงานผลิต ร้านค้าปลีก/ส่ง หรือบ้านเรือน ที่มีจำนวนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ทำให้การวางแผนจัดลำดับการขนส่งหรือการจัดลำดับการให้บริการ ต้องเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในหนึ่งวัน รวมถึงเรื่องของการส่งมอบความพึงพอใจในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้า ที่มีปัจจัยเรื่องของการบริหารเวลาในการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย
3. LOAD CONSTRAINTS
น้ำหนักของพัสดุในการขนส่งมีผลโดยตรงต่อจำนวนในการบรรทุกสินค้าต่อรอบการขนส่ง ซึ่งขนาดของรถบรรทุกหรือรถขนส่งนั้น ก็มีขนาดที่แตกต่างกันไป รองรับน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน ต้องอาศัยการคำนวณที่คุ้มค่าที่สุดต่อรอบการขนส่ง พร้อมกับการคำนึงถึงข้อกฎหมายการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตามเกณฑ์ที่จะสามารถขนส่งได้
4. RESOURCE
ในหลายธุรกิจมีตัวเลขการเติบโตที่สูงขึ้นจากการเติบโตของ E-Commerce ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณความต้องการขนส่งสินค้าหรือการส่งมอบบริการถึงธุรกิจและผู้บริโภคปลายทางมีมากขึ้น ในทางกลับกันจำนวนทรัพยากรรถบรรทุก รถขนส่ง จำนวนคนขับ รวมถึงเวลาการทำงาน กลับมีอยู่อย่างจำกัดเช่นเดิม ทำให้ธุรกิจต้องบริหารจัดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด เช่น จะทำอย่างไรให้รถขนส่งเดินทางส่งของได้จำนวนหลายจุดมากยิ่งขึ้น บริหารเวลาขนส่งต่อที่ให้กระชับมากขึ้น ซึ่งคำถามเหล่านี้ ต้องใช้เครื่องมือในการวางแผนจัดลำดับการขนส่งหรือการจัดลำดับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ตามปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละธุรกิจ
5. TIME CONSUMPTION
โดยปกติแล้วกระบวนการคำนวณการวางแผนจัดลำดับการขนส่งหรือการจัดลำดับการให้บริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะทำการคำนวณเส้นทางแบบรถขนส่ง 1 คัน ต่อการคำนวณ 1 ครั้ง แต่หากจำนวนรถขนส่งมีมากขึ้นเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพันคัน จะทำให้การคำนวนการวางแผนจัดลำดับการขนส่งใช้เวลาในการประมวลผลที่นานมาก จนทำให้สูญเสียเวลาจากขั้นตอนการวางแผนงานมากเกินไป ซึ่งจะกระทบต่อเวลาในการปฏิบัติงานในหนึ่งวัน
6. JOB ZONE
ปัจจุบันการขนส่งสินค้าหรือส่งมอบบริการนั้นมีอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ซึ่งหลาย ๆ ธุรกิจ ได้จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าหรือศูนย์กลางการให้บริการ แบ่งเป็นตามโซนพื้นที่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด หรือระดับภูมิภาค ซึ่งการจัดพื้นที่การทำงานในการขนส่งสินค้าและส่งมอบบริการของรถขนส่งแต่ละคัน จะต้องจัดแบ่งพื้นที่ตามความเหมาะสมของจุดที่ต้องไปส่งสินค้าหรือไปให้บริการ และสอดคล้องกับการคิดคำนวณโดยอิงตามขอบเขตเส้นทางคมนาคมจริงบนแผนที่ เพื่อการบริหารจัดการที่ไม่ทับซ้อนพื้นที่กันและกัน
7. HUMAN ERRORS
การคำนวณเพื่อการวางแผนจัดลำดับการขนส่งหรือการจัดลำดับการให้บริการแบบเดิมนั้น บ้างก็อาศัยประสบการณ์ของผู้ขับขี่โดยตรงเป็นคนจัดการเส้นทางด้วยตัวเอง บ้างก็อาศัยการคำนวณการจัดวางเส้นทางด้วยมือ (Manual) ผ่านเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเครือข่ายผู้ขับรถขนส่งในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งในเงื่อนไขการขนส่งที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้วิธีการเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดจากการคำนวนโดยตัวบุคคล (Human Errors) ที่อาจส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว รวมถึงทางธุรกิจเองก็ไม่สามารถทราบถึงความคุ้มค่าหรือความเหมาะสมที่แท้จริง ในการบริหารจัดการให้คุ้มค่าได้มากกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้หลายๆ ธุรกิจต้องกลับมาทบทวนถึงวิธีการวางแผนจัดลำดับการขนส่งหรือการจัดลำดับการให้บริการในแบบที่เป็นอยู่ ที่จะส่งผลต่อตัวต้นทุนในการขนส่งอย่างแน่นอน
NOSTRA ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ Online Map service จึงมีประสบการณ์ในการทำงาน คลุกคลีกับธุรกิจที่มีความจำเป็นในการจัดการเส้นทาง และมี Location Content อยู่มากมายที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์จัดการเส้นทางหรือจัดลำดับในการให้บริการ จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาหาทางแก้ปัญหาที่กล่าวมาในเบื้องต้น เพื่อที่จะปรับปรุงและคำนวน การจัดการเส้นทางที่มีความซับซ้อนปวดหัว ให้เป็นเรื่องง่ายและได้ผลลัพธ์ที่ต้องการในเพียงไม่กี่ขั้นตอน เกิดเป็นโซลูชันเพื่อการวางแผนจัดลำดับการขนส่ง หรือการจัดลำดับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขการขนส่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนจุดส่งสินค้า จำนวนรถ เขตความรับผิดชอบ ปริมาณน้ำหนักสินค้า รวมถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าในแต่ละที่ โดยใช้ความสามารถของ Online Map Service for Route Planning เทคโนโลยีล่าสุดโดยแผนที่ NOSTRA ด้วยการเรียกใช้ API เพื่อการวางแผนจัดลำดับการขนส่ง หรือการจัดลำดับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับลูกค้าที่มีความสนใจใน โซลูชันเพื่อการวางแผนจัดลำดับการขนส่ง หรือการจัดลำดับการให้บริการ ลงทะเบียนกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้ทางทีมงานติดต่อกลับในการให้ข้อมูลเชิงลึกได้ที่ About Us – NOSTRA MAP ครับ