ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทำให้หลายธุรกิจค้าปลีกต้องปรับกลยุทธ์สู่การซื้อขายบนช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับผลการวิจัยล่าสุดของธนาคารกรุงศรีฯ (เรื่องแนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่) ที่คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2564 – 2566 ธุรกิจค้าปลีกจะมีแนวโน้มอัตราการเติบโตเพียง 1.5 – 2.5% ต่อปี โดยธุรกิจค้าปลีกยังต้องเจอกับอุปสรรคความท้าทายทางธุรกิจ ที่เป็นปัจจัยนอกเหนือจากวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เช่น การแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงมากขึ้นในช่องทางออนไลน์, การทำการตลาดสินค้าและบริการที่มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น, การใช้ Big Data ที่องค์กรมีอยู่ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจ รวมไปถึงการทบทวนถึงกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่จะช่วยสร้างโอกาสในการขาย เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายที่ตรงกลุ่ม ค้นหาช่องว่างในตลาดออฟไลน์ และชิงส่วนแบ่งทางการขายก่อนใครในกลยุทธ์ระดับเชิงพื้นที่
1. กลยุทธ์ O2O แต่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนก้อนโต เมื่อสร้างการรับรู้บนโลกออนไลน์ กระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขายที่ออฟไลน์สโตร์เมื่อลูกค้าได้สัมผัสและมีประสบการณ์
เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตไปได้ระยะหนึ่งแล้ว มักจะเกิดคำถามกับตัวเองว่า “จะใช้กลยุทธ์การขยายธุรกิจ และเพิ่มรายได้อย่างไรดี” ซึ่งคำตอบของการขยายธุรกิจนั้นนอกจากการเพิ่มไลน์สินค้า เพิ่มปริมาณการขายสินค้า เพิ่มปริมาณงบโฆษณาบนช่องทาง E-Commerce แล้ว ก็จะได้กลุ่มลูกค้าออนไลน์ แต่ยังมีกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มที่ไม่ควรมองข้าม กลุ่มนี้อาจจะยังไม่กล้าพอที่จะตัดสินใจซื้อบนออนไลน์แพลทฟอร์มเพราะมีความกังวล หรือพฤติกรรมการซื้อ ความเชื่อที่ต่างออกไป ดังนั้นการหากต้องการลูกค้ากลุ่มนี้ธุรกิจอาจจะเพิ่มช่องทางการตลาดด้วยการหาทำเลใหม่ในการตั้งสาขา หรือขยายธุรกิจให้ขยับเข้าใกล้เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้เข้าถึงสินค้าและบริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันนั้น ธุรกิจมีความเสี่ยงในการลงทุนเงินก้อนใหญ่สำหรับการเปิดร้านขายสินค้าหรือบริการสาขาใหม่ การตั้งสาขาใหม่จึงอาจจะยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่ถูกเวลาเท่าไหร่นัก สำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาช่องทางการเติบโต โดยอาจจะต้องใช้อีกกลวิธีหนึ่งในการขยายธุรกิจที่ไม่ต้องเน้นการลงทุนเพื่อสร้างสาขาใหม่ แต่ยังได้เข้าถึงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในงบประมาณที่น้อยลง นั้นก็คือ การหา Partner ทางธุรกิจ หรือตัวแทนช่องทางการขายที่แข็งแกร่งในพื้นที่นั้น ๆ เข้ามาช่วยเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำการตลาดออฟไลน์เพื่อสร้างยอดขายเพิ่ม โดยตัวแทนช่องทางการขายอาจจะอยู่ในรูปแบบของห้างสรรพสินค้า (Department store), ดิสเคาท์สโตร์ (Discount store), ซูเปอร์มาเก็ต (Supermarket), ร้านสะดวกซื้อ (Convenience store) ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty store) หรือแม้กระทั่งสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของกลุ่มลูกค้าของธุรกิจนั้น ๆ เป็นต้น
2. Go Local Partner จับมือกับช่องทางการขายที่ใช่ในพื้นที่ศักยภาพ
ในสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่ปรับตัวเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ตลาดบนช่องทางออนไลน์มากขึ้น จนตลาด E-Commerce ในประเทศไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายในการลงโฆษณาต่อยอดการขายทางช่องทางออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงขึ้นแปรผันตามกัน รวมทั้งปัจจัยพื้นที่การเข้าถึงบนช่องทางออนไลน์ที่ลดน้อยลง ทำให้ธุรกิจต้องหันกลับมาปรับกลยุทธ์ช่องทางออฟไลน์ควบคู่ไปกับช่องทางออนไลน์ด้วย โดยการหา Partner ทางธุรกิจ หรือตัวแทนช่องทางการขาย เพื่อไปวางจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น ๆ โดยทางธุรกิจอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องของค่าธรรมเนียมในการวางสินค้า ค่าขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับการลงทุนบุกตลาดสร้างสาขาใหม่เองแล้ว เป็นทางเลือกที่มีต้นทุนที่น้อยกว่า ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนแบบเต็มรูปแบบ รวมทั้งเป็นการสำรวจความต้องการของตลาดที่แท้จริงจากยอดขายที่เกิดขึ้นจากร้านนั้น ๆ ถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ อย่างไรแต่ปัญหาคือเราจะหา Partner ทางธุรกิจ หรือตัวแทนช่องทางการขาย ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร ? ต้องไปหาจากที่ไหน? ไปหาหาคำตอบกัน
คำถามแรกเราจะหา Partner ทางธุรกิจ หรือตัวแทนช่องทางการขาย ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร ?
คุณลักษณะสำคัญที่ธุรกิจจะต้องมองหา Partner หรือตัวแทนช่องทางการขาย จะต้องมีลักษณะสินค้าที่อยู่ในหมวดเดียวกัน หรือมีการขายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งสามารถที่จะเสนอขายเป็นทางเลือกหลัก หรือ ทางเลือกเสริม ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสินค้าและบริการนั้น ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น
– ธุรกิจค้าส่ง (Wholesale) สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการซื้อของแบบยกแพค โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถานที่ในหมวดร้านโชว์ห่วย หมวดโรงแรม หมวดร้านอาหาร หรือหมวดร้านกาแฟ ในการวางกลยุทธ์เชิงรุก เสนอสิทธิพิเศษสำหรับร้านค้าที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าประจำในพื้นที่นั้น ๆ
– ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น (Lubricants) ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนขับรถบรรทุกในพื้นที่ต่าง ๆ ต้องทราบถึงข้อมูลของพิกัดอู่ซ่อมรถ เพื่อหาตัวแทนร้านค้าหรือพาร์ทเนอร์ที่มีบริการเกี่ยวกับการดูแลรักษาเครื่องยนต์ในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อกระจายสินค้าไปยังช่องทางการขายที่มีลักษณะแบบเฉพาะทาง (Specialty Store)
– ธุรกิจขนส่ง (Logistics) สามารถเพิ่มรายได้จากการเพิ่มช่องทางการรับส่งสินค้าในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เข้าถึงชุมชนมากขึ้น เพียงแค่ทราบถึงข้อมูลประชากรเชิงพื้นที่ที่เหมาะสมและมีโอกาสการเติบโตของชุมชนในอนาคต วิเคราะห์ร่วมกันกับข้อมูลพื้นที่การจัดส่งของธุรกิจ เพื่อหาโอกาสใหม่บนพื้นที่ที่ยังเป็นช่องว่างทางการตลาดหรือพื้นที่ที่คู่แข่งยังให้บริการที่ไม่ครอบคลุม
– ธุรกิจตู้ขายสินค้า (Self-Service Kiosks) ที่กำลังบุกตลาดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ตามเทรนด์การซื้อขายแบบ Everywhere & Every time สามารถหาพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการตั้งตู้ขายสินค้าร่วมกันกับร้านค้า โดยการใช้ข้อมูลสถานที่ในหมวดร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store) และ ข้อมูลประชากรเชิงพื้นที่ (Demographic Data) นำมาวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพ (Potential Area) เพื่อขยายตลาดได้เช่นกัน
– ธุรกิจขนส่งอาหาร (Food Delivery) สามารถเข้าถึงพื้นที่ช่องว่างทางการตลาดรูปแบบใหม่ โดยการกำหนดตีกรอบพื้นที่ที่มีร้านอาหารอยู่ในละแวกใกล้เคียงกันบนแผนที่ สำหรับการสั่งอาหารในรูปแบบหลายร้านจากร้านค้าต่าง ๆ เพื่อส่งให้กับลูกค้าในครั้งเดียว (Many to One) โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ร่วมกันกับข้อมูลของร้านค้าที่ลงทะเบียนไว้กับธุรกิจขนส่งอาหาร เพื่อทำการจัดโปรโมชันแบบแพคเกจ ที่นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ของธุรกิจขนส่งอาหารแล้ว ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งานในการสั่ง โดยเสียค่าส่งอาหารเพียงครั้งเดียว
จะหา Partner ทางธุรกิจ หรือตัวแทนช่องทางการขายที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้จากที่ไหน?
คำถามนี้ NOSTRA ช่วยให้คำตอบได้ จากการเป็นผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ออนไลน์ประเทศไทยที่มีประสบการณ์ด้านข้อมูลแผนที่มากกว่า 20 ปี ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geo Data) ทุกหมวดประเภทไว้มากกว่า 48 หมวดหลัก และ 506 หมวดย่อย ซึ่งมีการอัพเดทเก็บข้อมูลทุก ๆ ปี โดยในปัจจุบันมีข้อมูลสถานที่สำคัญมากกว่า 1.9 ล้านจุดทั่วไทย และชั้นข้อมูลอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ซึ่งทางธุรกิจสามารถนำข้อมูลหมวดหมู่สถานที่ (POI Category) ข้อมูลประชากรรายพื้นที่ (Demographic Data) และชั้นข้อมูลอื่น ๆ นำมาวิเคราะห์พัฒนาเป็นกลยุทธ์ในแต่ละพื้นที่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ลูกค้ามีอยู่ เช่น ข้อมูลที่อยู่ของลูกค้า ข้อมูลระดับการใช้จ่ายของลูกค้า เป็นต้น นำมาแสดงผลร่วมกันบนแผนที่ เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ รู้ทันคู่แข่ง และเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการทำการตลาดระดับพื้นที่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ธุรกิจที่สนใจอยากซื้อข้อมูลสถานที่สำคัญรายหมวด (POI Category) ข้อมูลประชากรเชิงพื้นที่ (Demographic Data) และข้อมูลอื่น ๆ ที่ทาง NOSTRA ได้ทำการจัดเก็บไว้ สำหรับนำไปใช้ในการวิเคราะห์แสดงผลร่วมกันกับข้อมูลที่ธุรกิจมีอยู่ หรือสอบถามการนำ Geo Data ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในธุรกิจของคุณได้อย่างไรสามารถปรึกษาทีมงาน คลิกที่นี่
Geo Data ตอบโจทย์การหาร้านค้าตัวแทนขายทั่วประเทศไทยให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ